แคลเซียม แลคเตต (Calcium Lactate) 1000 g.
-hydroxypropanoate) เกิดจากปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดแลคติกกับแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) หรือ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Calcium hydroxide) ปัจจุบันแคลเซียม แลคเตตได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นส่วนประกอบโดยตรงของผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปจาก U.S. Food and Drug Administration (FDA) โดยใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในการช่วยเสริมลักษณะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น แคลเซียม แลคเตตพบได้ในอาหารทั่วไปและเป็นแหล่งของแคลเซียม ซึ่งอยู่ในรูปไฮเดรต โดยทั่วไปจะพบในรูป lactate pentahydrateกระบวนการผลิต แคลเซียม แลคเตต ผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดแลคติกกับแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 แคลเซียม แลคเตต ได้จากกระบวนการหมักจากคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ กระบวนการหมักจะให้ผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบทั้ง D lactate หรือ L lactate หรือ a racemic mixture คือ สารผสมระหว่าง D และ L lactate ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตการประยุกต์ใช้ อุตสาหกรรมอาหารแคลเซียม แลคเตตเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ได้รับการให้อนุมัติให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยจาก FDA และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น สารช่วยให้คงรูป (firming agent) สารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร (flavoring agent) สารที่ทำให้ขึ้นฟู (leavening agent) สารช่วยให้คงตัว (stabilizer) สารช่วยให้ข้น (thickener) เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเสริมแคลเซียม สำหรับผู้ป่วยมีปัญหาขาดแคลนแคลเซียม หรือผู้ป่วยโรคกระดูกเปราะ แคลเซียม แลคเตตถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผงฟูบางชนิดที่มี sodium acid pyrophosphate เป็นส่วนประกอบ โดยจะช่วยให้เกิดการฟูช้าลง เนื่องจากเป็นผลจากการทำงานของแคลเซียมที่เพิ่มในผลิตภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากน้ำตาล มีการใช้แคลเซียม แลคเตต เพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันการเกิดฟันผุ เช่น หมากฝรั่งที่การเติมไซลิทอล (xylitol) ซึ่งเป็นตัวเพิ่มการเกิดกระบวนการคืนกลับแร่ธาตุบนตัวฟัน (remineralization) ของสารเคลือบฟัน (tooth enamel) ทำให้เกิดอาการฟันผุ จึงมีการเติมแคลเซียม แลคเตต เพื่อลดปัญหาดังกล่าวในผลิตภัณฑ์ผลไม้สดหั่นชิ้น เช่น แคนตาลูป มีการเติมแคลเซียม แลคเตต เพื่อช่วยรักษาความคงรูปของผลิตภัณฑ์และขยายอายุการเก็บรักษา แทนการเติมแคลเซียมคลอไรด์ (calcium chloride) ซึ่งทำให้เกิดรสชม นอกจากนี้ มีการใช้แคลเซียม แลคเตต ในการทำอาหารโมเลกุล (molecular gastronomy) โดยใช้เป็นตัว flavorless fat
-soluble agent สำหรับการทำ spherification ซึ่งแคลเซียม แลคเตตจะทำปฏิกิริยากับอัลจิเนต (alginate) ทำให้ผิวรอบ ๆ อาหารเกิดการจับตัวเป็นโครงสร้างขึ้นอ้างอิงCalcium Lactate Calcium lactate IDENTIFICATION