ชุดตัวอย่างหิน 12 ชนิด สำหรับการศึกษา สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ เรียนรู้เรื่องประเภทของหิน
![ชุดตัวอย่างหิน 12 ชนิด สำหรับการศึกษา สื่อการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ เรียนรู้เรื่องประเภทของหิน](https://th-test-11.slatic.net/p/d3c97a7d79e825adc7cb1065ca78be03.jpg)
1.ชุดตัวอย่างหิน 1 ชุด (หิน 12 ชนิด)
2.สติ๊กเกอร์รูปดาว 1 แผ่น (แถมฟรี) ฝึกทักษะและเพิ่มพัฒนาการ
1. หินแกรนิต : | จ.ตาก หินอัคนีเนิ้อหยาบ ผลึกแร่ขนาดใหญ่ ในหินพบเหนือจรดได้ ทำหินประดับก่อสร้างอนุสาวรีย์ |
2. หินแอนดิไซด์ Andisite : | หินอัคนีพุ หรือหินภูเขาไฟ เนื้อละเอียดแน่นทึบใช้ทำถนน รางรถไฟ ทำหินก่อสร้างแหล่ง จ.เพชรบูรณ์ |
3. หินพัมมีช : | หินอัคนีพุ หรือหินภูเขาไฟ เนื้อละเอียดสีขาวหรือสีเทาอ่อน เนื้อพรุนโพรงคล้ายฟองน้ำ แหล่ง จ.ระยอง |
4. หินบะซอลต์ : | จ.ลำปาง หินอัคนี เกิดจากลาวาเย็นตัวแข็ง สีเเข้ม เนื้อละเอียด และมีรุพรุน ใช้ทำถนน ทำหินคอนกรีต |
5. หินกรวดมน : | จ.ชัยนาท เป็นหินชั้น เนื้อหยาบ ประกอบด้วยทรายหินกรวดที่มีหินหรือแร่ต่างๆ มีลักษณะกลมมน เพราะการขัดสีตามลำธาร ใช้ทำหินประดับและก่อสร้าง |
6. หินทราย : | จ.นครราชสีมา หินชั้น ประกอบด้วยเม็ดทราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์มีหลายสี ใช้ทำหินลับมีด ปูพื้น ก่อสร้าง แกะสลัก ทำอนุสาวรีย์ และทำหินประดับ |
7. หินดินดาน : | จ.สงขลา หินชั้นเกิดจากการสะสมทับถมของโคลนตมและดินเหนียวจนกลายเป็นชั้นหนา ใช้ทำอิฐ กระเบื้อง ภาชนะดินเผา อัดพื้น เป็นส่วนประกอบทำปูนซีเมนต์ |
8. หินปูน : | จ.สระบุรี หินชั้นเนื้อละเอียดสมานแน่นเกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนตจากสารละลายในน้ำทะเล ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนขาว และหินก่อสร้าง |
9. หินไนส์ : | จ.ประจวบคีรีขันธ์ หินที่แปรสภาพมาจากหินชั้นหรือหินอัคนี เพราะความร้อนและความกดทับผสมกับสารละลายเหลวร้อน แร่ตกผลึกใหม่เรียงตัวเป็นริ้วเป็นแนวเห็นชัด ใช้เป็นหินก่อสร้าง |
10. หินควอร์ตซ์ไซต์ : | จ.ชลบุรี หินที่แปรสภาพมาจากหินทราย เพราะได้รับความร้อน ความกดดันสูง เนื้อแกร่งมาก ทนต่อการสึกกร่อน ใช้ทำโม่ หินลับมีด |
11. หินชนวน : | จ.นครราชสีมา หินที่แปรสภาพมาจากหินดินดานซึ่งได้รับความร้อน ความกดดันอัดจนเนื้อแน่นละเอียด แตกหรือแซะออกเป็นแผ่นๆได้ ใช้ทำกระดานชนวน กระเบื้องมุงหลังคา ปูพื้นทางเดินและผนังอาคาร |
12. หินอ่อน : | จ.สระบุรี หินที่แปรสภาพมากจากหินปูน เนื่องจากได้รับความร้อนและความกดดัน แร่แคลไซด์ตกผลึกใหม่ใหญ่ขึ้น ใช้ทำหินประดับ ปูพื้นก่อผนัง กลึงและแกะสลักได้ |
คุณสมบัติ : | ช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว และสนใจใคร่รู้ในธรรมชาติจากตัวอย่างหิน |
พัฒนาการด้านสติปัญญา : | เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเกตธรรมชาติของหิน ทั้งรูปร่าง ขนาด และสีของหิน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร |
วิธีการเก็บรักษา : | ควรเก็บรักษาอุปกรณ์ไว้ในที่แห้ง และห้ามให้เด็กเล่นตามลำพัง โดยไม่มีผู้ปกครอง |
ข้อควรระวัง : | ห้ามให้เด็กนำใส่ปาก และขว้างปาใส่กัน |