ของเล่นจุกไม้กระดานไม้จับคู่ -ลาย0-20(มีพื้นหลัง) ของเล่นไม้ ของเล่นเด็ก ปริศนาจิ้กซอว์หมุดไม้ของเล่นเสริมทักษะIQ EQเสริมพัฒนาการ TK-Toys&Kids
22.5 x 30 cm มาตราฐาน มอก.685
-2540 "สมาธิ"คือจุดเริ่มต้นหรือรากฐานของการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสมองอันศูนย์รวมของความคิด การวางแผน การแก้ปัญหา การจินตนาการ ตลอดจนการบันทึกจดจำสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กที่ไม่มีสมาธิ เมื่อทำสิ่งใดมักจะประสบความล้มเหลว เพราะขาดความเชื่อมั่น ขาดความรอบคอบ ขาดความอดทน ทำให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำกิจกรรม การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นรวมไปถึงการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต ###คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมที่สามารถฝึกฝนสมาธิ ให้กับลูกน้อยด้วยการต่อจิ้กซอว์หรือจิ้กซอว์จับคู่ภาพเหมือน เพราะเมื่อเด็กมีความสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นระยะเวลานานๆ จะสามารถกระตุ้นการทำงานของคลื่นสมอง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การจดจำ และการเข้าใจสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี. ###ประโยชน์ของการต่อต่อจิ้กซอว์หรือการจับคู่ภาพเหมือน
1.ฝึกการเชื่อมโยงระหว่างความคิดกับการมองเห็น การสังเกต การผสมผสานและการแยกแยะ ลวดลาย สีสัน รูปทรง ความแตกต่างของภาพในจุดต่างๆและการมองภาพในองค์รวม
2.ฝึกการประสานงานร่วมกันระหว่างดวงตา สมอง และ มือ ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องเหมาะสม เมื่อเด็กต้องตัดสินใจเลือกจิ้กซอว์หรือภาพชิ้นที่ถูกต้อง
3.ฝึกการควบคุมจิตใจให้มีสติและสมาธิ เพราะการจดจ่ออยู่กับจิ้กซอว์หรือภาพ จะทำให้จิตใจไม่วอกแวก ทำให้สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดี หรือ EQ ความฉลาดทางอารมณ์
4.ช่วยพัฒนาความจำ การเรียนรู้เกี่ยวกับสีสัน รูปร่าง รูปทรงของวัตถุ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเรียน
5.ช่วยพัฒนาความคิดเชิงตรรกะ ความละเอียดรอบคอบ การเรียนรู้ การลองผิดลองถูก ทำให้สามารถคิดอย่างเป็นระบบเป็นเหตุเป็นผล
6.ช่วยพัฒนาความพยายาม ความอดทน รู้จักการรอคอย มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานให้สำเร็จ
7.ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านจินตนาการและการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัวผ่านการเล่นหรือกิจกรรมที่สนุกสนานเพลิดเพลิน ###วิธีการเล่นและเทคนิคการเล่น
1.ควรเริ่มจากการวางภาพ หรือตัวต่อ จิ้กซอว์ ให้เต็มภาพ คุณพ่อคุณแม่เริ่มหยิบออกมาชิ้นหนึ่ง แล้วให้ลูกเป็นคนหยิบใส่กลับเข้าไป เมื่อเค้าเข้าใจในวิธีการเล่นแล้ว ก็ให้หยิบออกมากขึ้น เพื่อเพิ่มความยาก
2.ระหว่างที่เล่น ควรชี้ชวนให้ลูกสังเกตเห็นความแตกต่าง ของแต่ละจุดที่เชื่อมต่อกัน เช่น สีสัน ลวดลาย รูปร่าง เป็นต้น
3.ควรแนะนำให้ลูกว่าควรหาชิ้นไหน สีอะไร อยู่ตรงไหน แล้วให้เขาเป็นคนค้นหาและหยิบไปวางเอง
4.ในช่วงแรกหากลูกไม่สนใจก็ไม่ควรไปบังคับ แต่ควรเล่นให้ดูแล้วร้องขอให้ลูกช่วยหาชิ้นส่วน สักพักเขาก็จะเกิดความสนใจ และมาร่วมเล่นด้วยเอง
5.คุณพ่อคุณแม่สังเกตพฤติกรรมลูกว่ามีความพยายามในการเล่นมากน้อยเพียงใด เพราะเด็กบางคนหากทำไม่ได้ก็จะไม่ชอบและไม่ยอมเล่นอีกเลย พ่อแม่จึงให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจคอยสอนสิ่งใหม่ๆสอดแทรกให้กับลูกด้วย เพราะแต่ละก้าวจะช่วยส่งเสริมสร้างพัฒนาการของสมองก่อให้เกิดเป็นความมหัศจรรย์ในแต่ละช่วงวัยของลูก คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจ เลือกสรรกิจกรรมการเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของลูกเพื่อการเติบโตอย่างมีพัฒนาการต่อไป