พจนานุกรม ไทย-ฮังกาเรียน ฮังกาเรียน-ไทย

พจนานุกรม ไทย-ฮังกาเรียน ฮังกาเรียน-ไทย
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
ประเทศฮังการีและประเทศไทย เป็นประเทศเก่าแก่ และเคยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน อาจนับย้อนไปได้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1870 (พ.ศ.2413) ที่ราชอาณาจักรออสเตรีย
-ฮังการีและประเทศไทยได้ส่งทูตไปเยือนซึ่งกันและกัน และได้มีการทำสัญญาการค้าระหว่างประเทศขึ้นในเวลานั้นด้วย โดยผู้แทนประเทศไทยขณะนั้น คือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย) กับท่านเคานต์ Szechenyi แห่งราชอาณาจักรออสเตรีย
-ฮังการี นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เสด็จประพาสทวีปยุโรป ในครั้งนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรออสเตรีย
-ฮังการีด้วย และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งสองประเทศก็ได้พัฒนาความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แต่เนื่องจากภาวะสงครามทำให้ประเทศทั้งสองห่างเหินกันไปชั่วระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) ทั้งสองประเทศได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นไปอย่างสันติและมีไมตรีจิต และนับตั้งแต่ประเทศฮังการีได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทั้งสองประเทศก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์เสมอมา ชาวฮังการีถือว่าประเทศของตนเป็นชาติเดียวในยุโรปที่มีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับเอเชียทั้งนี้เพราะชนชาติฮังการีได้อพยพจากเอเชียกลางพันกว่าปีมาแล้ว ขนบธรรมเนียมประเพณีหลาย ๆ อย่างคล้ายคลึงกับเอเชีย แม้กระทั่งภาษา ภาษาฮังการีมีการอ่านออกเสียงเช่นภาษาไทย มีสระ "อุ อู อิ อี อึ อือ โอะ โอ เอะ เอ เออะ เออ" อาหารก็มีรสชาติเผ็ดร้อนพอ ๆ กัน ภาษาฮังการีเป็นภาษาที่ยากที่สุดภาษาหนึ่งในโลก อาจเพราะการผสมผสานการพูดอ่านแบบ เอเชียเข้ากับไวยากรณ์แบบยุโรป การจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับนี้จะเป็นการเปิดศักราชใหม่ในสายสัมพันธ์ของชนชาวไทยและฮังการีให้ได้สามารถเรียนรู้และเข้าใจกันได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นพิมพ์ครั้งที่ ๑พ.ศ.๒๕๔๖จำนวน 576 หน้า
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ พจนานุกรม ไทย-ฮังกาเรียน ฮังกาเรียน-ไทย
หากรายละเอียดยังไม่เพียงพอ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ร้านด้านล่าง....
C.C.KNOWLEDGELINKS