แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติ กับการทำแผนที่หมู่บ้านไทย ในยุคสงครามเย็น เก่งกิจ กิติเรียงลาภ Illuminations Editions
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
หนังสือเล่มนี้อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยี บนความสัมพันธ์ระหว่างการสำรวจหมู่บ้าน การทำแผนที่ และกระบวนการก่อรูปของรัฐประชาชาติ ในบริบทช่วงสงครามเย็น การพัฒนาเทคโนโลยีของการทำแผนที่ได้นำไปสู่การถกเถียงเรื่องหมู่บ้านในงานของนักมานุษยวิทยา และเข้าใจถึงการก่อรูปหรือการเปลี่ยนผ่านของรัฐไทย เป้าหมายของการสร้างแผนที่ของรัฐก็คือการสร้างอำนาจ ความทันสมัย และขอบเขตกายาให้กับรัฐรวมศูนย์อำนาจของกษัตริย์ ไม่ใช่การสร้างรัฐประชาชาติ รัฐรวมศูนย์ของสยามไม่สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียดลงลึกไปในระดับล่างของสังคม การสร้างแผนที่ในระดับย่อยคือในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และโดยเฉพาะในระดับหมู่บ้านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างและขยานอำนาจของรัฐประชาชาติที่ลงลึกลงไปในระดับล่างสุดของสังคมนั้น นักมานุษยวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และบุคคลผู้สนใจทั่วไป ไม่ควรพลาดหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง