หนังสือ อัสดงคตมายา: ภาพลวงตาของโลกตะวันตกต่อธรรมชาติของมนุษย์ ของมาร์แชล ซาห์ลินส์ Illuminations Editions
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
มาร์แชล ซาห์ลินส์เป็นศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเขายังคงมีชีวิตอยู่ในวัย 88 ปี อาจกล่าวได้ว่าซาห์ลินส์เป็นนักมานุษยวิทยาที่สร้างข้อถกเถียงใหญ่ๆ ในวงการมานุษยวิทยาและวงการสังคมศาสตร์ของโลกได้มีชีวิตชีวาที่สุด ตลอดระยะเวลาการทำงานทางวิชาการของเขา เขาสร้างข้อถกเถียงที่สั่นสะเทือนวงการหลายครั้ง ข้อเสนอหลัก ๆ ของซาห์ลินส์ในหนังสือเล่มนี้คือการชี้ให้เห็นว่า คอนเซปต์เรื่องภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ที่เป็นหัวใจของการถกเถียงทางการเมือง ปรัชญา ฯลฯ ในปัจจุบัน เป็นเพียงความเข้าใจโลกแบบคับแคบของชาวตะวันตกซะส่วนมาก การแบ่งแยกธรรมชาติออกจากมนุษย์อย่างเสร็จสรรพ และชี้ว่า มนุษย์ในสภาพธรรมชาตินั้น โหดร้าย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว วุ่นวาย เป็นอนาธิปัตย์ และจำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างหรือใครบางคนที่มีอำนาจสูงสุดมาควบคุมนั้น เป็นฐานคิดที่ส่งผ่านต่อ ๆ กันมาจากสังคมกรีก จากธุซิดิดิส ไปสู่ฮอบส์ สู่สังคมอเมริกันที่อ่านฮอบส์และธุซิดิดิสอีกทีนึง การพูดถึงภาวะธรรมชาติจึงเป็นเรื่องไร้สาระในสังคมอื่น ๆ ซาห์ลินส์เสนอว่า เรื่องง่าย ๆ ที่คนที่เชื่อในภาวะธรรมชาติในความหมายนี้ทำเป็นไม่สนใจก็คือ เอาเข้าจริง ภาวะธรรมชาติในที่อื่น ๆ สังคมอื่น ๆ ไม่ได้มีอยู่จริง หรือไม่มีมีรูปแบบเดียวกับโลกตะวันตกเลย ถ้าเราเชื่อว่ามนุษย์ในภาวะธรรมชาติโหดร้ายและเห็นแก่ตัว แล้วเราจะอธิบายสังคมแบบเครือญาติที่ทุกคนเชื่อมโยงกันในฐานคนเผ่าพันธุ์เดียวกัน ทั้งบนฐานของสายเลือดหรือไม่ เพราะทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้าองค์เดียวกัน และจำต้องคอยดูแลกัน และในบางกรณีผูกผันตั้งแต่เกิดจนตาย ได้อย่างไร? ทำนองเดียวกับเวลาที่เราพูดถึงมนุษย์เป็นปัจเจกชนที่แยกขาดจากคนอื่น เราอธิบายมนุษย์ที่ชีวิตเชื่อมโยงกันจนความเจ็บป่วยหรือความตายของคนหนึ่งมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ หรือทั้งชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ ได้อย่างไร?