หนังสือ หมุนนาฬิกาสู่เวลาทางสังคม โดยฐานิดา บุญวรรณโณ Illuminations Editions
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
เวลามีเพียงหนึ่งเดียวหรือเปล่า? และเวลาเป็นสิ่งที่วัดได้เสมอไปหรือไม่?ภาคแรกของหนังสือเล่มนี้เป็นการแนะนำผู้อ่านให้รู้จักแนวคิด 'เวลาทางสังคม' ของเอมิล ดูร์ไกม์ (Émile Durkheim) หนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา รวมไปถึงลูกศิษย์สายสังคมวิทยาสำนักดูร์ไกม์เมียนหลายท่านอย่าง อองรี อูแบร์ (Henri Hubert) มาร์เซล โมสส์ (Marcel Mauss) โมริส ฮาล์บวาซ (Maurice Halbwachs) และจอร์จ เกอวิช (Georges Gurvitch) เป็นต้น ดูร์ไกม์นำความคิดเรื่องเวลามาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม แม้ว่าดูร์ไกม์เองจะได้รับอิทธิพลทางความคิดแบบปฏิฐานนิยมจากออกุส กงต์ (Auguste Comte, ค.ศ.1789
-1857) และได้รับอิทธิพลทางความคิดเรื่องเวลาจากเอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant, ค.ศ.1724
-1804) แต่เวลาของดูร์ไกม์คือ เวลาทางสังคม (social time) ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มาก่อนประสบการณ์ (a priori) แต่เป็นเวลาที่มีความเฉพาะและหลากหลายตามแต่ละสังคม อย่างไรก็ดี เวลาที่หลากหลายนั้นสุดท้ายแล้วเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นส่วนรวม (collective) ซึ่งสัมพันธ์กันกับความเป็นสถาบันทางสังคมอย่างแยกไม่ออก เวลาทางสังคมในมุมมองของดูร์ไกม์จึงเป็นทั้งสิ่งที่ถูกกำหนดจากสังคม และเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคมด้วย นอกจากสำนักดูร์ไกม์เมียนแล้ว ยังเกิดการพัฒนาความคิดเรื่องเวลาทางสังคมต่อมาในนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาอีกหลายท่านอย่าง พิทิริม โซโรคิน (Pitirim Sorokin) โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert Merton) อีแวนส์
-พริทชาร์ด (Evans
-Pritchard) วิลเลียม โกรซแซง (William Grossin) และนอเบิร์ต เอไลอัส (Norbert Elias) เป็นต้น ซึ่งแนวคิดของนักวิชาการเหล่านี้จะอยู่ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้ ในภาคสองของหนังสือ เป็นการเสนอมโนทัศน์ทางมานุษยวิทยาว่าด้วย 'ระยะทางสังคม' อันเป็นมโนทัศน์ที่พัฒนาขึ้นจากการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า จอร์จ กองโดมินาส (Georges Condominas)
-1857) และได้รับอิทธิพลทางความคิดเรื่องเวลาจากเอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant, ค.ศ.1724
-1804) แต่เวลาของดูร์ไกม์คือ เวลาทางสังคม (social time) ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มาก่อนประสบการณ์ (a priori) แต่เป็นเวลาที่มีความเฉพาะและหลากหลายตามแต่ละสังคม อย่างไรก็ดี เวลาที่หลากหลายนั้นสุดท้ายแล้วเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นส่วนรวม (collective) ซึ่งสัมพันธ์กันกับความเป็นสถาบันทางสังคมอย่างแยกไม่ออก เวลาทางสังคมในมุมมองของดูร์ไกม์จึงเป็นทั้งสิ่งที่ถูกกำหนดจากสังคม และเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคมด้วย นอกจากสำนักดูร์ไกม์เมียนแล้ว ยังเกิดการพัฒนาความคิดเรื่องเวลาทางสังคมต่อมาในนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาอีกหลายท่านอย่าง พิทิริม โซโรคิน (Pitirim Sorokin) โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert Merton) อีแวนส์
-พริทชาร์ด (Evans
-Pritchard) วิลเลียม โกรซแซง (William Grossin) และนอเบิร์ต เอไลอัส (Norbert Elias) เป็นต้น ซึ่งแนวคิดของนักวิชาการเหล่านี้จะอยู่ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้ ในภาคสองของหนังสือ เป็นการเสนอมโนทัศน์ทางมานุษยวิทยาว่าด้วย 'ระยะทางสังคม' อันเป็นมโนทัศน์ที่พัฒนาขึ้นจากการทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อว่า จอร์จ กองโดมินาส (Georges Condominas)