ชนชาติไทย วิลเลียม คลิฟตัน ด็อดด์ (ปกแข็ง)
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
ชนชาติไทย
บทที่ ๑ ไทยในมณฑลเสฉวนและมณฑลไกวเจา
บทที่ ๒ ในแคว้นเชียงตุง
บทที่ ๓ ไทยที่ถือพุทธศาสนาในมณฑลยูนนาน
บทที่ ๔ ไทยที่ไม่มีหนังสือในมณฑลยูนนาน
บทที่ ๕ ไทยในมณฑลกวางซี
บทที่ ๖ ไทยแถบแม่น้ำยางสี
บทที่ ๗ เดินทางในมณฑลยูนนานเมื่อ ค.ศ. ๑๙๑๘
บทที่ ๘ ไทยตังเกี๋ย
บทที่ ๙ ไทยจีน
บทที่ ๑๐ ดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก
บทที่ ๑๑ ไทยเหนือ
บทที่ ๑๒ ไทยลื้อในสิบสองพันนา
บทที่ ๑๓ ไทยเขิน
บทที่ ๑๔ ชานตะวันตก
บทที่ ๑๕ ลาว
บทที่ ๑๖ ไทยยวน
บทที่ ๑๗ สรุปความเรื่องชนชาติไทยภาคผนวก
ภาคผนวก ๑ ประมวลพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สยาม
แถลงเรื่องพระร่วง
เรื่องท้าวแสนปม
งานของหมอด็อดด์แม้จะเป็นผลงานของนักวิชาการ ยุคเก่าก็ตามแต่ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ส่งต่อให้เกิดการต่อยอดต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ก่อให้เกิดการสืบค้นศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของชนชาติไทยอย่างกว้างขวาง หนังสือเรื่อง ชนชาติไทย เล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ไม่ควรมองข้าม หากคือหนังสือที่ส่งต่อแรงบันดาลใจให้เกิดการเรียนรู้อย่างสำคัญหนังสือเรื่อง "ชนชาติไทย" ของ ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ด็อดด์ เล่มนี้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่อธิบายและสืบค้นถึงที่ไปและที่มาของคนไทย ไว้อย่างน่าสนใจ โดยที่หมอด็อดด์เป็นหมอที่เข้ามาสอนศาสนาและอาศัยอยู่ในเมืองไทยนานถึง ๓๒ ปี และได้เคยเดินทางสำรวจจากภาคเหนือของไทยเข้าไปในประเทศพม่า ลาว เวียดนาม ไปจนถึงมณฑลยูนาน กวางสี ไกวเจา และกวางตุ้งในประเทศจีน และภายหลังได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งคือ The Tai Race: | Elder Brother of the Chinese ว่าคนไทยแต่เดิมนั้นมีเชื้อสายมองโกล แล้วต่อมาได้อพยพย้ายถิ่นฐานลงมาทางตอนใต้จนถึงดินแดนซึ่งปัจจุบันเรียกว่าคาบสมุทรอินโดจีน โดยพิจารณาจากความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ว่ามีความคล้ายคลึงกันระหว่างชนกลุ่มน้อยในไทยกับจีนแต่อย่างไรก็ดี ถ้าจะตั้งคำถามเกี่ยวกับแผ่นดินไทย ความเป็นมาของคนไทยว่ามีที่มาอย่างไร คำถามนี้มีน้อยคนนักที่จะตอบได้ โดยส่วนใหญ่เรามักจะรู้จักประวัติความเป็นมาของเราก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา เหนือไปกว่านั้นหรือย้อนไปไกลเราแทบจะรู้เรื่องราวของเราอย่างถ่องแท้น้อยมาก ความจริงก็คืออาจมีอาณาจักรต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยมาก่อนเกิดอาณาจักรสุโขทัยนับพันๆ ปี เป็นอาณาจักรที่อาจเจริญรุ่งเรืองและมีวัฒนธรรมของตนเอง ดังปรากฎหลักฐานจากการขุดค้นพบในสมัยต่อๆ มา เช่นการพบโครงกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผา และภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หลักฐานต่างๆ ส่วนใหญ่ได้สูญหายผุพังไปเป็นส่วนมากเนื่องด้วยสภาพอากาศร้อนขึ้นมีฝนตกชุกทำให้หลักฐานต่างๆ เปื่อยสลายผุพังไปเกือบหมด ...สารบัญถ้อยแถลงสำนักพิมพ์ |
อธิบายความเพิ่มเติมภาคผนวก ๒ ชาติพันธุ์วิทยา: | ว่าด้วนชนชาติเผ่าต่างๆ ในประเทศไทย |