POCKETBOOKS - NEO-CLASSIC 11 พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
หนังสือNEO
-CLASSIC 11เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องของพระปิดตาวัดสะพานสูง ที่หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง นนทบุรี เป็นผู้สร้างและปลุกเสก “ในกระบวนพระปิดตาพระผงคลุกรักพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง นนทบุรี จัดเป็นพระยอดนิยมระดับต้นๆ เป็นอีกหนึ่งในเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก”ลักษณะจะเป็นปิดตาแบบลอยตัว เนื้อผงคลุกรัก มีพบเป็นครึ่งซีกบ้างแต่น้อย อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ชะลูด และพิมพ์ตะพาบ ส่วนขนาดและเนื้อหานั้นมีเล็กใหญ่และสีสันวรรณะแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เนื่องด้วยทำด้วยวิธีโบราณ หลวงปู่เอี่ยมท่านเกิดปีฉลู พ.ศ.2359 เป็นบุตรของนายนาค และนางจันทร์ เป็นชาวตำบลบ้านแหลมใหญ่ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านมาครอง วัดสว่างอารมณ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด จึงถือเป็นนิมิตประทานนามวัดว่า วัดสะพานสูง) พระปิดตารุ่นแรกนั้นสันนิษฐานว่าท่านทำขึ้นเพื่อสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ที่เราเรียกว่า “ชะลูด” จะมีความงดงามและจัดเป็นพิมพ์นิยม สูงเล็กและเพรียวกว่าพิมพ์ตะพาบ จุดสำคัญให้สังเกตที่พระหัตถ์หรือมือที่ยกปิดตา ถ้าใช้กล้องส่องดูจะเห็นรอยนิ้ว พิมพ์ชะลูดจะยกข้อพระกรขึ้นสูงกว่าพิมพ์ตะพาบ ข้อศอกขององค์พระจะเป็นลำศอกเว้าเข้าหาบั้นเอว พระอุทร (ท้อง) พลุ้ย และมีสะดือ พระเพลา (หน้าตัก) นั่งแบบขัดสมาธิราบ เท้าขวาทับเท้าซ้ายในลักษณะเฉียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย ไม่เป็นเส้นขนานเหมือนของลูกศิษย์ท่าน อย่างเช่น หลวงปู่กลิ่น และหลวงปู่สุก ส่วนด้านหลังจะโค้งมนดูเผินๆ เหมือนตุ๊กตา ปราศจากลวดลายใดๆ ส่วน “พิมพ์ตะพาบ” องค์จะล่ำสันเทอะทะใหญ่คล้ายตะพาบน้ำ ศอกชิดกับพระเพลา เข่าวางกว้างกว่าพิมพ์ชะลูด ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือพระปิดตาของท่านเป็นพิมพ์ประกบหน้าหลังรวม 2 ชิ้น จึงจะปรากฏตะเข็บด้านข้างให้เห็นเกือบทุกองค์ และพบว่ามีบรรจุไว้ในพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้นที่ท่านสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2439 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพถึงสามหม้อทะนานใหญ่ๆ เนื้อพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมจะเป็นเนื้อผงพุทธคุณมาจากการลบพระคาถาพระยันต์อิติปิโส พระยันต์ไตรสรณาคม และพระยันต์โสฬสมหามงคล รวมกับว่าน รากไม้ ที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยม เคล้ากับรัก สีจะออกเป็นสีมะขามเปียก มีความหนึกนุ่ม เมื่อส่องดูเนื้อจะเห็นว่านดอกมะขามซึ่งอาจจะเป็นชาดสีแดงๆ กระจายอยู่ทั่วองค์พระ มีพบเนื้อเป็นสีขาวบ้าง แต่มีน้อย ลักษณะจะขาวนวลเหมือนผงน้ำมัน แต่ไม่เยิ้ม มีคราบสีขาวๆ กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งรุ่นลูกศิษย์ท่านคือ หลวงปู่กลิ่น นิยมสร้าง แต่เนื้อจะออกขาวเหลือง และความแห้งยังผิดกัน เมื่อทำเป็นองค์พระแล้วมักจะทาหรือชุบน้ำรักอีกชั้นหนึ่ง ด้วยสูตรรักของท่านเองที่ผิดกับคณาจารย์ท่านอื่นๆ หลวงปู่เอี่ยมท่านขึ้นชื่อทางวิปัสสนาธุระ หรือกัมมัฏฐาน กิตติศัพท์ท่านลือเลื่องไปทั่วทั้งพระปิดตาและตะกรุด ก่อนจะละสังขารในปลายปี พ.ศ.2439 ท่านได้สั่งบรรดาศิษย์ไว้ว่า ถ้าผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนให้นึกถึงนามของท่าน และออกชื่อท่าน ความเดือดร้อนก็จะถูกขจัดปัดเป่าไป ซึ่งสานุศิษย์ทั้งหลายได้อาราธนานามของท่านเป็นเกราะคุ้มภัยรอดพ้นอันตรายต่างๆ จนกล่าวขานกันสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในหนังสือเล่มนี้จะเปรียบเทียบพิมพ์ทรงให้เห็นกันแบบละเอียด รูปใหญ่สวยงาม และพระส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน จึงนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นพระชุดนี้ เนื่องจากเจ้าของหวงแหนมาก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านที่นิยมชมชอบพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมสืบไป
-CLASSIC 11เป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องของพระปิดตาวัดสะพานสูง ที่หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง นนทบุรี เป็นผู้สร้างและปลุกเสก “ในกระบวนพระปิดตาพระผงคลุกรักพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง นนทบุรี จัดเป็นพระยอดนิยมระดับต้นๆ เป็นอีกหนึ่งในเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก”ลักษณะจะเป็นปิดตาแบบลอยตัว เนื้อผงคลุกรัก มีพบเป็นครึ่งซีกบ้างแต่น้อย อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ 2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ชะลูด และพิมพ์ตะพาบ ส่วนขนาดและเนื้อหานั้นมีเล็กใหญ่และสีสันวรรณะแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เนื่องด้วยทำด้วยวิธีโบราณ หลวงปู่เอี่ยมท่านเกิดปีฉลู พ.ศ.2359 เป็นบุตรของนายนาค และนางจันทร์ เป็นชาวตำบลบ้านแหลมใหญ่ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านมาครอง วัดสว่างอารมณ์ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองหน้าวัด จึงถือเป็นนิมิตประทานนามวัดว่า วัดสะพานสูง) พระปิดตารุ่นแรกนั้นสันนิษฐานว่าท่านทำขึ้นเพื่อสร้างพระอุโบสถ พิมพ์ที่เราเรียกว่า “ชะลูด” จะมีความงดงามและจัดเป็นพิมพ์นิยม สูงเล็กและเพรียวกว่าพิมพ์ตะพาบ จุดสำคัญให้สังเกตที่พระหัตถ์หรือมือที่ยกปิดตา ถ้าใช้กล้องส่องดูจะเห็นรอยนิ้ว พิมพ์ชะลูดจะยกข้อพระกรขึ้นสูงกว่าพิมพ์ตะพาบ ข้อศอกขององค์พระจะเป็นลำศอกเว้าเข้าหาบั้นเอว พระอุทร (ท้อง) พลุ้ย และมีสะดือ พระเพลา (หน้าตัก) นั่งแบบขัดสมาธิราบ เท้าขวาทับเท้าซ้ายในลักษณะเฉียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย ไม่เป็นเส้นขนานเหมือนของลูกศิษย์ท่าน อย่างเช่น หลวงปู่กลิ่น และหลวงปู่สุก ส่วนด้านหลังจะโค้งมนดูเผินๆ เหมือนตุ๊กตา ปราศจากลวดลายใดๆ ส่วน “พิมพ์ตะพาบ” องค์จะล่ำสันเทอะทะใหญ่คล้ายตะพาบน้ำ ศอกชิดกับพระเพลา เข่าวางกว้างกว่าพิมพ์ชะลูด ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือพระปิดตาของท่านเป็นพิมพ์ประกบหน้าหลังรวม 2 ชิ้น จึงจะปรากฏตะเข็บด้านข้างให้เห็นเกือบทุกองค์ และพบว่ามีบรรจุไว้ในพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้นที่ท่านสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2439 ก่อนที่ท่านจะมรณภาพถึงสามหม้อทะนานใหญ่ๆ เนื้อพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมจะเป็นเนื้อผงพุทธคุณมาจากการลบพระคาถาพระยันต์อิติปิโส พระยันต์ไตรสรณาคม และพระยันต์โสฬสมหามงคล รวมกับว่าน รากไม้ ที่ทรงคุณทางเมตตามหานิยม เคล้ากับรัก สีจะออกเป็นสีมะขามเปียก มีความหนึกนุ่ม เมื่อส่องดูเนื้อจะเห็นว่านดอกมะขามซึ่งอาจจะเป็นชาดสีแดงๆ กระจายอยู่ทั่วองค์พระ มีพบเนื้อเป็นสีขาวบ้าง แต่มีน้อย ลักษณะจะขาวนวลเหมือนผงน้ำมัน แต่ไม่เยิ้ม มีคราบสีขาวๆ กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งรุ่นลูกศิษย์ท่านคือ หลวงปู่กลิ่น นิยมสร้าง แต่เนื้อจะออกขาวเหลือง และความแห้งยังผิดกัน เมื่อทำเป็นองค์พระแล้วมักจะทาหรือชุบน้ำรักอีกชั้นหนึ่ง ด้วยสูตรรักของท่านเองที่ผิดกับคณาจารย์ท่านอื่นๆ หลวงปู่เอี่ยมท่านขึ้นชื่อทางวิปัสสนาธุระ หรือกัมมัฏฐาน กิตติศัพท์ท่านลือเลื่องไปทั่วทั้งพระปิดตาและตะกรุด ก่อนจะละสังขารในปลายปี พ.ศ.2439 ท่านได้สั่งบรรดาศิษย์ไว้ว่า ถ้าผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนให้นึกถึงนามของท่าน และออกชื่อท่าน ความเดือดร้อนก็จะถูกขจัดปัดเป่าไป ซึ่งสานุศิษย์ทั้งหลายได้อาราธนานามของท่านเป็นเกราะคุ้มภัยรอดพ้นอันตรายต่างๆ จนกล่าวขานกันสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในหนังสือเล่มนี้จะเปรียบเทียบพิมพ์ทรงให้เห็นกันแบบละเอียด รูปใหญ่สวยงาม และพระส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน จึงนับว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นพระชุดนี้ เนื่องจากเจ้าของหวงแหนมาก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านที่นิยมชมชอบพระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมสืบไป