น้ำยาแอร์ R134a PLUS BLUE PLANET 10KG. #น้ำยาแอร์ #blue planet #ชาญวิทย์แอร์
13.6 กิโลกรัมดังที่เคยเป็น ทำไมถังน้ำยาแอร์จึงระเบิด!!
1.การขยายตัวของน้ำยาแอร์ R32 มากกว่าน้ำยาแอร์ R134a คิดเป็น
2.2 เท่าที่ย่านอุณหภูมิ 40
-60 องศาเซลเซียส
2.ความดัน R32 ภายในรถปิคอัพปิดประทุนไม่เปิดแอร์หากอุณหภูมิสะสมถึง 60 องศาเซลเซียส จะทำให้ R32 มีแรงดันไปแตะ 554 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
3.ถังเหล็ก One Way หรือ Dispisable รับแรงดันได้สูงสุดไม่เกิน 400
-450 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
4.ถังเหล็ก R32 เติมน้ำยาแอร์ R32 ได้ 7 กิโลกรัม (Max Load)
5.ถังเหล็ก R134a เติมน้ำยาแอร์ R134a ได้
13.6 กิโลกรัม (Max Load)
6.ถังบรรจุ R32 ความหนา
1.5 มม. ถัง R134a ความหนา
1.0 มม. บางกว่าถัง R32 ถึง 50% แต่บรรจุน้ำยาแอร์มากกว่าถึง 100%
7.เมื่อนำเอาถังที่บรรจุ R32 ไว้เต็มเปี่ยมบนภาชนะแสนบอบบางของ R134a ไปวางไว้ในรถปิคอัพที่ร้อนระอุ ความร้อนจะสะสมและแปรผันความดันไอของน้ำยาแอร์ให้เกิดแรงดันได้รวดเร็วเป็นทวีคูณ
8.เมืองไทยไม่ใช่ยุโรป อากาศนั้นร้อนจัด Ambient อาจพุ่งทะลุ 45
- 50 องศาเซลเซียส ในช่วงซัมเมอร์ที่กำลังมาถึงนี้
9.การเติมน้ำยาแอร์แบ่งบรรจุแบบ Verb To Dao (คือเติมน้ำยาแอร์แบบเดาเอา ไม่ใช้ตาชั่งเพื่อตวงวัด) จึงไม่แนะนำ เพราะถ้าอัดแน่นมากมัน และนำไปวางผิดที่ผิดทางก็อาจประสบอุบัติเหตุตามภาพด้วยประการฉะนี้ครับพี่น้อง!
10.กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีความจำเป็น ต้องนำถังเหล็ก R22 หรือ R134a ดังกล่าวไปบรรจุน้ำยาแอร์ R32 หรือ R410a ให้คำนวณดังนี้นะครับ
13.6/2 x
0.67 x
0.70 = คือปริมาณการบรรจุน้ำยาแอร์ที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อถังอยู่ในสถานะที่สมบูรณ์นะครับ .. หรือสั่งซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากบริษัทที่บรรจุมาพร้อมเรียบร้อยแล้วจะปลอดภัยที่สุดครับ
***หากท่านสั่งมากกว่า 1 ถัง รบกวนสั่งซื้อครั้งละ 1 ถัง ต่อ 1 ออเดอร์ เพื่อสะดวกในการจัดส่งค่ะ*** ASHRAE Name: | R134aCategory |
#ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทำไมถังน้ำยาแอร์จึงระเบิด!!02/05/2019ตอน : | ทำไมถังน้ำยาแอร์จึงระเบิด!! |
ชนิดที่ 1 : | มีความหนา 1.0 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักถังเหล็กรวมวาล์วเปล่าประมาณ 2.5 กิโลกรัม (น้ำหนักถังเปล่า)ใช้บรรจุสารทำความเย็น R134a, R12, R22 โดยสามารถบรรจุได้ปริมาณสูงสุด 13.6 กิโลกรัม |
ชนิดที่ 2 : | มีความหนา 1.2 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักถังเหล็กเปล่ารวมวาล์วประมาณ 3.0 กิโลกรัม (น้ำหนักถังเปล่า)ใช้บรรจุสารทำความเย็น R404a, R407c โดยสามารถบรรจุได้ปริมาณสูงสุด 10.9 หรือ 11.3 กิโลกรัม |
ชนิดที่ 3 : | มีความหนา 1.5 มิลลิเมตรและมีน้ำหนักถังเหล็กเปล่ารวมวาล์วประมาณ 3.5 กิโลกรัม (น้ำหนักถังเปล่า)ใช้บรรจุสารทำความเย็น R410a, R32 โดยสามารถบรรจุได้ปริมาณสูงสุด 10.9 หรือ 11.3 กิโลกรัม ส่วน R32 จะบรรจุเพียง 7 กิโลกรัมในถังประเภทนี้เท่านั้น |
ตามภาพ : | ตามรายงานทราบว่ามีการนำถังน้ำยาแอร์ R134a ขนาดความหนา 1.0 มม. ซึ่งได้ใช้น้ำยาแอร์จนหมดแล้ว นำไปแบ่งตวงน้ำยาแอร์ R32 จากผู้ค้าบางราย และได้มีการเติมอัด R32 จนแน่น จากนั้นจึงนำไปวางไว้หลังรถปิคอัพที่ไม่มีอากาศถ่ายเทหรือไม่ได้เปิดแอร์ไว้ ซึ่งถังที่ควรนำไปบรรจุ R32 ควรเป็นถังขนาดความหนา 1.5 มม. และบรรจุเพียงกึ่งหนึ่งของ Max Load คือไม่เกิน 7 กิโลกรัมนะครับ! |
ขอขอบคุณ : | ภาพจากเพจช่างแอร์บ้านกล้วย-ไทรน้อย ครับผม |