เต็นท์สนามเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน (Outdoor furniture)เฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ช่วยสร้างความสะดวกสบายในการนั่งเล่นพักผ่อนภายในสวนที่บ้าน ซึ่งเป็นตัวสร้างบรรยากาศความผ่อนคลายในวันพักผ่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการตกแต่งสวนให้ดูสวยงามได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านก็จะประกอบไปด้วย โต๊ะเก้าอี้สนาม เก้าอี้พักผ่อน โซฟาสนาม ชุดม้านั่งสนาม ร่มสนาม หรือ ชิงช้า สำหรับนั่งเล่นได้อย่างเพลิดเพลิน สำหรับเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านที่วางจำหน่ายในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่แล้วจะผลิตจากวัสดุที่มีความทนทานต่อแดดและฝน เนื่องจากต้องตั้งอยู่ภายนอกบ้านอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านก็จะเป็น ไม้, โลหะ, หินอ่อน หรือ พลาสติก เป็นต้นการเลือกเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านหลักการเลือกเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะเก้าอี้สนาม เก้าอี้พักผ่อน โซฟาสนาม ชุดม้านั่งสนาม ร่มสนามหรือชิงช้า หลักๆจะต้องพิจารณาในเรื่องของความแข็งแรงทนทานในการใช้งานเป็นหลัก รองลงมาก็จะเป็นในเรื่องของการพิจารณาขนาดพื้นที่ภายในสวนที่คุณต้องการนำเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านไปจัดวาง จะต้องไม่ใหญ่เกินหรือมีจำนวนมากเกินไป เพราะจะทำให้สวนของคุณดูแน่นคับแคบชวนอึดอัด แทนที่จะได้พื้นที่สำหรับนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ กลายเป็นว่าได้สวนที่อัดแน่นไปด้วยเฟอร์นิเจอร์มากมาย บดบังวิวธรรมชาติและความสวยงามในการตกแต่งสวนประเภทของวัสดุที่มีความทนทานเฟอร์นิเจอร์ Outdoor ที่มีความทนทานมีอยู่ 3 ประเภทให้เลือกใช้งานกันได้แก่ วัสดุประเภทหวายสังเคราะห์, วัสดุประเภทไม้ และวัสดุประเภทสแตนเลสสตีล ทั้ง 3 วัสดุเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน ทนแดดและทนฝนได้เป็นอย่างดี อาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความสวยงาม ทางผู้ผลิตจึงนิยมเลือกใช้วัสดุเหล่านี้มาใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดวัสดุประเภทหวายสังเคราะห์ เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน เนื่องจากมีความสวยงามและแข็งแรงทนทาน รับรองได้ว่าสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบวัสดุประเภทไม้ เป็นวัสดุที่นิยมใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ทั้งในและนอกบ้านมาอย่างยาวนาน ด้วยลวดลายไม้ธรรมชาติที่มีความสวยงามจึงเหมาะกับการนำมาใช้ตกแต่งภายนอกบ้านอย่างมาก โดยวัสดุไม้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อแข็งที่มาพร้อมกับความแข็งแรงทนต่อทุกสภาพอากาศ แต่ด้วยวัสดุไม้เป็นวัสดุที่ค่อนข้างมีราคาสูงดังนั้นเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านที่ทำจากไม้ก็จะมีราคาสูงตามไปด้วยวัสดุประเภทสแตนเลสสตีล เป็นอีกวัสดุยอดนิยมที่มี่คุณสมบัติแข็งแรงทนทาน และสามารถทนต่อทุกสภาพอากาศ อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ง่ายในราคาย่อมเยาว์ เฟอร์นิเจอร์วัสดุสแตนเลสมาพร้อมกับดีไซน์พื้นฐานเข้ากับการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกทุกรูปแบบและสไตล์เฟอร์นิเจอร์ Outdoor ต้องมีอะไรบ้าง?หากคุณคิดวางแผนที่จะจัดสวนในบ้านให้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อน สิ่งแรกที่จะต้องพิจารณากันคือเรื่องของขนาดพื้นที่ของสวนที่บ้านของคุณ เพื่อวางแผนในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านได้อย่างเหมาะสมและลงตัว โดยเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านที่นิยมนำมาใช้งานกันมากที่สุดก็คงจะเป็น โต๊ะเก้าอี้สนาม, ชุดม้านั่งสนาม หรือเก้าอี้พักผ่อน มีไว้สำหรับนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติ หรืออาจจะเปลี่ยนบรรยากาศมานั่งรับประทานอาหารในสวนกับคนในครอบครัว หรือจัดปาร์ตี้สังสรรค์แบบ Outdoor ก็เป็นไอเดียที่สร้างความสนุกสนานสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและเพื่อนฝูงได้ดีเลยทีเดียวเฟอร์นิเจอร์นอกบ้านหากคุณลูกค้าสนใจสินค้า เฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน ลดราคาถูกและคุณภาพดี สามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ Outdoor และของตกแต่งสวนแบบครบครันได้ที่ร้านเรา ที่มาพร้อมกับบริการจัดส่งและการให้บริการลูกค้าด้วยใจ เพราะคุณคือลูกค้าคนสำคัญของเรา หากสนใจเพียงแค่แวะมาที่ร้านเราทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกชมสินค้าได้ทาง เว็บไชต์ของเรา ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ทาง Call Center ของพวกเราได้เลย
“เต๊นท์สนาม” อุปกรณ์คู่กายนักเดินทางค้างคืน ที่ให้ความเป็นส่วนตัวและได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติในเวลาเดียวกัน ซึ่งในแต่ละครั้งก่อนการเดินทางของเรา หนึ่งในปัญหาอันดับต้น ๆ ที่พบขณะเตรียมตัวก็คงหนีไม่พ้นการเลือกใช้หรือเลือกซื้อเต๊นท์อย่างไร ? ให้เราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะด้วยราคาที่สูงถ้าคิดจะซื้อมาลองใช้ก่อนก็คงมีความเสี่ยงเกินไป หรือจะพกไปหลาย ๆ แบบก็มีน้ำหนักที่สร้างความลำบากพอสมควร
แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะหมดไป เพราะในบทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาในการเตรียมตัวและเลือกเต๊นท์คู่ใจได้ง่ายขึ้น แถมด้วย 10 อันดับเต๊นท์คุณภาพจากผู้ผลิตอย่าง Coleman , CAMEL , KARANA , MSR ฯลฯ ที่ได้รับความนิยมทั้งในเรื่องความสะดวกและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เหมาะแก่การพักผ่อน จะน่าสนใจขนาดไหนนั้นไปชมกันเลย
เพราะเต๊นท์นั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่เราใช้งานเกินกว่า 50% ของการตั้งแคมป์หรือทริปต่าง ๆ ดังนั้นการเลือกเต๊นท์ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะไม่ใช่คุณสมบัติการใช้งานที่ถูกใจเท่านั้นแต่ยังเป็นความอุ่นใจในระหว่างที่เราพักผ่อนด้วย
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือผนังของเต๊นท์ เพราะเป็นลักษณะที่มีความต่างกันอย่างชัดเจนและส่งผลต่อความชื้น การควบแน่นของอากาศภายในเต๊นท์รวมถึงการถ่ายเทของอากาศด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
เต๊นท์ประเภทที่มีผนัง 2 ชั้น (Double Wall) โดยมาตรฐานส่วนใหญ่จะนิยมใช้ฟลายชีทช่วยกันน้ำชั้นนอกสุดและชั้นในเป็นมุ้งช่วยในการระบายอากาศ ซึ่งประโยชน์หลักของเต๊นท์ 2 ชั้น ก็คือ ช่องว่างระหว่างผนังที่ช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศ ลดการควบแน่นรวมไปถึงช่วยให้ภายในเต๊นท์แห้งและระบายอากาศได้ดี เหมาะกับการกางใช้งานในฤดูฝนและในพื้นที่ ๆ มีอากาศร้อนชื้น
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในเรื่องการเก็บอุปกรณ์สัมภาระต่าง ๆ อย่างเช่น สามารถวางรองเท้าไว้ในช่องว่างหรือพื้นที่ด้านหน้าเพื่อกันเปียกและเพิ่มพื้นที่ภายในเต๊นท์ไปด้วยในตัว แต่เต๊นท์แบบนี้ก็มาพร้อมกับข้อเสียที่ทำให้เราต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีขั้นตอนการกางที่ซับซ้อนขึ้น ทั้งนี้หากพูดถึงความสารพัดประโยชน์โดยรวมแล้ว ข้อเสียเหล่านี้ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคที่สร้างความลำบากต่อนักเดินทางแต่อย่างใด
ในส่วนของเต๊นท์ซึ่งมีผนังเพียงชั้นเดียว (Single Wall) นิยมทำจากเนื้อผ้ากันน้ำ ซึ่งข้อดีอย่างแรกเลยก็คือ มีน้ำหนักเบาอยู่ระหว่าง 1 – 1.5 กิโลกรัม พกพาและพับเก็บได้ง่ายไม่เปลืองพื้นที่กระเป๋า แถมยังกางได้ง่ายและเซ็ตตัวกลับได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดลมพัดแรงหรือฝนตกหนัก เหมาะสำหรับการใช้งานในฤดูหนาวหรือในช่วงที่มีอากาศแห้ง และโดยเฉพาะการปีนเขาที่จำเป็นต้องลดน้ำหนักสัมภาระให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามก็ต้องแลกกับการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดีเท่าไหร่นักและไม่มีพื้นที่สำหรับเก็บสำภาระ เรียกได้ว่าเป็นประเภทสำหรับผู้ที่รักการเดินทางและเชี่ยวชาญในการตั้งแคมป์โดยเฉพาะ เพราะมีความกะทัดรัด กางได้เร็ว เก็บได้ง่าย เคลื่อนย้ายได้สะดวกนั่นเอง
การติดตั้งเต๊นท์สนามที่เราพบเห็นได้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่สามารถกางและตั้งได้เองโดยไม่ต้องตรึงด้วยสมอบกอย่างเต๊นท์ป๊อบอัพ (Pop-up Tent) ที่สามารถดีดตัวเป็นทรงได้เอง หรือเป็นระบบไฮดรอลิกช่วยกางโดยไม่ต้องต่อเสา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย เหมาะกับมือใหม่และง่ายต่อการตั้งแคมป์บนลานหินที่ไม่สะดวกต่อการตรึงสมอบกอย่างมาก แต่ในบางรุ่นก็มักจะมีเชือกสำหรับยึดเต๊นท์กับเสาหรือต้นไม้เพื่อเพิ่มความมั่นคงมาให้ด้วย
อย่างไรก็ดี ยังมีเต๊นท์อีกรูปแบบที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน คือ เต๊นท์แบบใช้สมอบก ด้วยเหตุผลหลัก คือ การสร้างความมั่นคงแข็งแรงในการกางเต๊นท์ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานบนพื้นที่ลาดชันหรือในช่วงที่อากาศแปรปรวน มีลมพัดแรง เป็นการป้องกันแรงลมฝนและลดความเสี่ยงเต๊นท์ปลิวได้
สำหรับวิธีการกางเต๊นท์นั้นมีทั้งแบบที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างการสอดเสาเข้าไปในปลอกให้เสาไขว้กันเพื่อตั้งเป็นโดม และแบบใหม่ที่ปรับปรุงเป็นตะขอเกี่ยวหรือตัวล็อคเสา โดยแบบสอดเสาจัดเป็นแบบมาตรฐานที่ยึดตัวเต๊นท์ไว้ได้ดีที่สุดหากเกิดลมพัดแรงและตัวเต๊นท์จะอยู่ทรงตลอดเวลา แต่ก็สร้างความลำบากให้ผู้ที่ต้องกางคนเดียวไม่น้อย หรือในบางรูปทรงที่ไม่ใช่แบบโดมนั้นก็ต้องอาศัยความชำนาญในการกาง รวมทั้งมีความเสี่ยงพับหักง่ายจากการดัดให้โค้งด้วย
โดยในอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ แบบตะขอเกี่ยว โดยผู้ใช้สามารถตั้งโครงเสาสำเร็จรูปแล้วใช้ตะขอหรือตัวล็อกเกี่ยวไว้ตามจุดต่าง ๆ บนเสาได้เลย หรือในบางรุ่นก็ทำการเกี่ยวตะขอไว้ให้แล้ว โดยเรามีหน้าที่เพียงดึงชิ้นส่วนโครงสร้างให้กางออกเองอย่างง่ายดาย ซึ่งสะดวกและประหยัดเวลาอย่างยิ่ง ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่าควรใช้คู่กับฟลายชีทเพื่อช่วยกันลมและฝนด้วย
อีกหนึ่งทริคที่แม้จะเป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการซื้อเต๊นท์ แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนนี้ถือว่าคุ้มค่ามากทีเดียวนั่นก็คือ การเพิ่มขนาด โดยขนาดพื้นที่ของเต๊นท์ไม่ควรแคบจนเกินไปและไม่ควรเล็กกว่า 55 x 180 เซนติเมตรต่อคน ทั้งนี้สามารถใช้หลักการเพิ่มจำนวนคนเข้าไปเพื่อให้ได้พื้นที่ ๆ พอดีมากขึ้น เช่น หากนอน 1 คน ควรเลือกเต๊นท์สำหรับ 2 คน หรือนอน 3 คน ควรเลือกเต๊นท์สำหรับ 4 คน เป็นต้น เพราะนอกจากจะสามารถขยับตัวได้สะดวกแล้วยังใช้เป็นพื้นที่เก็บกระเป๋าหรือของต่าง ๆ ได้ แต่หากเป็นกรณีที่นอน 4 คน ควรแบ่งเป็นเต๊นท์ขนาดเล็ก 2 เต๊นท์ เพราะจะได้ลดภาระไม่ต้องแบกเต๊นท์ที่มีน้ำหนักมากเพียงอันเดียว และยังสามารถแชร์น้ำหนักในการขนสัมภาระกันได้ด้วย นอกจากนี้เต๊นท์ควรมีความสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อไม่ให้ศีรษะชนเต๊นท์ระหว่างเข้า-ออก และไม่ให้รู้สึกอึดอัดจนเกินไป
ความหนาของเนื้อผ้าก็เป็นอีกทางเลือกที่ส่งผลทั้งในเรื่องความสะดวกและความปลอดภัย โดยไนลอน (Nylon) และโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เป็นผ้าที่ได้รับความนิยมในการทำเต๊นท์มากที่สุด เพราะเนื้อผ้าบาง มีน้ำหนักเบา และผ่านขั้นตอนการเพิ่มสารหน่วงไฟ (P – Halogen) ทำให้ไม่เกิดการติดไฟและเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาหารภายในเต๊นท์ได้อย่างปลอดภัยหากเกิดฝนตกหรือหิมะตกได้นั่นเอง
แต่ถึงแม้ว่าผ้าจะมีความเบา แต่ข้อเสียก็คือ ความทนทานและความยืดหยุ่นที่น้อยลงตามไปด้วย ซึ่งเราสามารถสังเกตความทนทานของผ้าได้จากค่าความหนาของด้ายต่อความยาวที่นำมาทอ คือ ตัวอักษร D (Denier) ที่ตามหลังตัวเลข โดยหากมีค่ามากก็แปลว่า ความทนทานต่อการฉีกขาดก็จะมากขึ้นด้วย หรือจำนวนเส้นด้ายต่อพื้นที่หนึ่งตารางนิ้วซึ่งเป็นค่า T (Thread per Inch) ซึ่งหากค่ายิ่งมาก ก็แปลว่าผ้าก็จะยิ่งทอตัวชิดกัน ทั้งนี้เต๊นท์สนามสำหรับใช้พักผ่อนโดยทั่วไปจะมีค่าความบางระหว่าง 20D – 30D หรือมีความหนาแน่นระหว่าง 190T – 210T
ตามท้องตลาดทั่วไปเราจะพบเห็นได้ว่าเต๊นท์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เต๊นท์ 3 ฤดู, เต๊นท์ 3 ฤดู+ และเต๊นท์ 4 ฤดู โดยแบบ 3 ฤดู เป็นเต๊นท์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอกับสภาพอากาศของเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นผ้าบางมีน้ำหนักเบา ทนต่อการฉีกขาดและพับเก็บได้ง่าย แต่ไม่เหมาะกับการนำไปใช้ในบริเวณที่มีลมแรงตลอดเวลา ส่วนแบบ 3 ฤดู + ซึ่งเหมาะกับการใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ฝนตกหนักต่อเนื่อง ลมแรงมีหิมะตก หรือที่ ๆ มีอากาศเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
และสำหรับเต๊นท์ 4 ฤดู ที่บางครั้งถูกเรียกเป็นเต๊นท์ปีนเขา (Mountaineering Tent) เพราะเหมาะกับสภาพอากาศที่มีความรุนแรงมากอย่างบนเทือกเขาสูง บริเวณที่หิมะตกต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเต๊นท์เหล่านี้จะมีความหนาและทนทานมากเป็นพิเศษ
เมื่อได้ข้อมูลไว้ใช้ในการตัดสินใจกันแล้ว ก็ถึงเวลาของเต๊นท์ทั้ง 10 อันดับที่มาพร้อมคุณภาพและคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกันไป จะมีเต๊นท์ที่มองหากันอยู่หรือไม่นั้น ไปชมกันเลย
เต๊นท์รุ่นนี้ คุณภาพเกินราคา กางง่ายภายใน 3 วินาที สร้างจุดเด่นด้วยการเน้นระบบการถ่ายเทอากาศเป็นหลัก โดยเป็นประตูและหน้าต่างเปิดได้รอบทิศทางพร้อมช่องระบายอากาศด้านบน ที่สำคัญยังสามารถปรับระดับหน้าต่างเพื่อรับลมได้ตามความต้องการ และในทางกลับกันสามารถรูดซิปเพื่อปิดเต๊นท์ทั้ง 4 ด้านได้อย่างมิดชิด ทำให้สามารถกันฝนได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ด้วยผ้าพื้นเต๊นท์ที่มีความหนาเดียวกับตัวเต๊นท์ ทำให้ไม่เหมาะการใช้งานในช่วงฝนตกหนักนั่นเอง
เข้ามาเป็นอันดับ 9 ด้วยสไตล์ของ Vidalido จริง ๆ สำหรับความจุใจคุ้มค่า ด้วยความสูงถึง 170 ซม. สามารถเดินเข้าได้โดยไม่ต้องคลานและลุกยืนได้สบาย เนื้อผ้าหนา 190T กันน้ำและรังสียูวี พื้นเต๊นท์หนาพิเศษ 150D สามารถกันน้ำได้ถึง 4000 mm แถมด้วยเสาค้ำ 2 ต้น ที่จะช่วยค้ำฟลายชีทให้กลายเป็นพื้นที่กิจกรรม นั่งพัก ไว้วางสัมภาระ รวมถึงช่วยกันแดดกันฝนได้ดีมากอีกด้วย แต่ทั้งนี้ใครที่สนใจเลือกซื้อก็ต้องยอมรับในส่วนที่เราต้องแบบน้ำหนักรวมอุปกรณ์ซึ่งหนักมากพอสมควรติดตัวไปด้วย
สำหรับใครที่ชื่นชอบการเดินทางคนเดียวท่องเที่ยวเพลิน ๆ ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งกับเต๊นท์น้ำหนักเบาขนาดพกพา ด้านในเป็นผ้ามุ้งตาข่ายที่มีความถี่ช่วยป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ และมีคุณสมบัติช่วยในการถ่ายเทและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม ตัวฟลายชีทคลุมด้านนอกสามารถกันน้ำได้ถึงระดับ 3000 mm พร้อมการซีลตะเข็บด้วยเทปเพื่อป้องกันน้ำรั่วเข้าเต๊นท์อีกด้วย และแม้ว่าตัวเต๊นท์สามารถกางเองได้ แต่ก็ยังมีสมอบกและจุดยึดเผื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความมั่นคงในวันที่ลมแรงด้วยเช่นกัน
ถ้าคุณอยากให้ความรู้สึกเหมือนยกบ้านไปพักผ่อนด้วย ลองดูเต๊นท์ขนาดใหญ่คุ้มราคารุ่นนี้ เพราะถึงจะมีขนาดใหญ่แต่ขนาดพับเก็บเล็กเพียง 80 x 18 ซม. มาพร้อมลูกเล่นการรูดซิปเปลี่ยนรูปแบบตามจุดต่าง ๆ แถมด้วยเสาค้ำ 2 ต้น ใช้ค้ำฟลายชีทด้านหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่อเนกประสงค์ สามารถกางเต๊นท์ได้ง่ายเพียงแค่ดึงหัวนิวเมติกส์ขึ้นให้ล็อคแล้วคุมด้วยฟลายชีทที่มีเนื้อผ้าโพลีเอสเตอร์แบบ Oxford ช่วยสะท้อนรังสียูวีและมีความหนาสามารถกันน้ำได้ 2000 – 3000 mm
มาต่อกันด้วยเต๊นท์คุณภาพ มีจุดเด่นเรื่องการระบายอากาศด้วย 2 ประตูหน้า-หลัง และเสริมให้อากาศถ่ายเทด้วยมุ้งหน้าต่างด้านบน ซึ่งนอกจากราคาจะเป็นมิตรกับนักเดินทางแล้ว การใช้งานยังสะดวกสบายโดยสามารถดึงเสาและตัวยึดไฮดรอลิกขึ้นเพื่อกางออกและกดลงเพื่อพับเก็บช่วยประหยัดทั้งแรงและเวลาได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดีสำหรับการกางด้วยวิธีนี้อย่าลืมเขย่าเต๊นท์เพื่อตรวจสอบว่าผ้าทุกจุดถูกดึงออกเรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายจากเต๊นท์พับตัวในขณะที่เราใช้งานนั่นเอง
อีกหนึ่งเต๊นท์ขนาดใหญ่ที่มีดีไซน์ทรงหกเหลี่ยมเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ภายในมีความโปร่งโล่งมากขึ้น พร้อมด้วยประตู 2 ด้านช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถเปิดหน้าต่างรับวิวได้รอบทิศทางหรือจะแยกชิ้นส่วนหลังคาออกมาเป็นกระโจมนั่งเล่นก็ได้เช่นกัน พื้นเต๊นท์ทำจากผ้าโพลีเอสเตอร์ความหนา 210D มีความยืดหยุ่นกันความชื้นได้ดี อย่างไรก็ดีในรุ่นนี้แม้จะสามารถกางได้อัตโนมัติ แต่เนื่องจากรูปทรงของเต๊นท์ลู่ลมได้น้อยกว่าแบบอื่น จึงมีข้อแนะนำที่ควรยึดสมอบกไว้เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรง
หากใครที่มีงบประมาณที่มากขึ้น อีกหนึ่งเต๊นท์ที่สายลุยไม่ควรพลาด มีจุดเด่นเป็นซิบเรืองแสง (Night Glow Zipper) ช่วยในการมองเห็นเวลากลางคืน เนื้อผ้าทำจาก Nylon Ripstop เนื้อบางและมีน้ำหนักเบาแบบเดียวกับที่ใช้ในทางทหารโดยทอด้วยความถี่ให้เป็นตารางขนาดเล็ก มีส่วนช่วยเพิ่มความอบอุ่นภายในเต๊นท์และมีความยืดหยุ่นสูงทนต่อการฉีกขาด หรือในกรณีที่เกิดการฉีกขาดเป็นจุดเล็ก ๆ ก็จะไม่ฉีกขาดไปจุดอื่นแถมยังได้รับเสียงตอบรับในเรื่องการกันฝนได้ดีเยี่ยม นอกจากนี้ภายในยังมีช่องเพื่อใช้เก็บของใช้สำคัญ ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ได้อีกด้วย
เต๊นท์ตัวนี้ถือว่าตอบโจทย์มากสำหรับใครที่ชอบออกทริปบ่อยและเน้นความรวดเร็วเป็นหลัก เพราะกางง่าย มีน้ำหนักเบาทำจากเนื้อผ้าโพลีเอสเตอร์ 210T ที่เคลือบกันน้ำได้มากถึง 3000 mm พร้อมด้วยเทคนิคการเชื่อมพื้นเต๊นท์แทนการเย็บติดเพื่อป้องกันน้ำเข้า และการซีลเทปตามรอยตะเข็บที่ช่วยกันน้ำได้ 100% มีประตู 2 ด้านช่วยให้อากาศถ่ายเท สามารถรูปซิปได้ทั้งด้านในและด้านนอก รวมถึงมีการออกแบบให้เป็นรูปตัว D ซึ่งสะดวกต่อการเปิด-ปิดได้ด้วยมือเดียว
เป็นอีกหนึ่งเต๊นท์แห่งความสะดวกรวดเร็วที่สามารถกางได้ง่ายเพียงแค่ยกเสาขึ้นและกางออกให้เป็นโครง ภายในซ้อนด้วยมุ้งตาข่ายช่วยป้องกันแมลงขนาดเล็กพร้อมด้วยประตู 2 ด้าน ซึ่งช่วยอากาศไหลเวียนได้ดี สามารถม้วนประตูเก็บไว้ด้านข้างเพื่อความเป็นระเบียบช่วยให้เข้า-ออกเต๊นท์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย แต่ด้วยความที่เนื้อผ้ายืดหยุ่นกันฝนได้ในระดับ 1000-1500 mm และสะท้อนรังสียูวีได้ ทำให้เป็นที่นิยมนำไปออกแคมป์วันสบาย ๆ หรือใช้ในวันที่อากาศปลอดโปร่งแจ่มใสมากกว่านั่นเอง
เต๊นท์จาก Coleman เรียกได้ว่าเป็นบ้านหลังที่ 2 ของนักเดินทางที่คุณภาพเกินคุ้มเลยก็ว่าได้ แม้จะเป็นเซ็ตที่มีน้ำหนักมากแต่ความคุ้มค่าที่ให้มาก็หนักไม่แพ้กัน เพราะไม่ได้มีแค่ความแข็งแรง กว้างขวางที่เหมาะสำหรับครอบครัวเท่านั้น แต่ยังมีการปรับให้ฟลายชีทสามารถคลุมกันฝนได้รอบทิศทางและเพิ่มฟลายชีทขนาดเล็กเพื่อช่วยกันน้ำในจุดระบายอากาศต่าง ๆ รอบเต๊นท์ หรือแแยกฟลายชีทออกเพื่อนอนดูดาวก็ได้เช่นกัน แถมยังมีช่องสำหรับเก็บของ เก็บรองเท้า แขวนตะเกียง หรือแม้กระทั่งช่องใส่สายไฟเพื่อต่อใช้ไฟในเต๊นท์มาให้อีกด้วย
นอกเหนือจากลักษณะของเต๊นท์ที่กล่าวไปข้างต้น การเลือกทำเลที่ตั้งก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจเช่นกัน เพราะแม้ว่าเต๊นท์ของเราจะมีสภาพดีแค่ไหนแต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สะดวกก็อาจจะยิ่งเพิ่มความลำบากให้เราได้
แน่นอนว่าในหลาย ๆ ครั้งทำเลที่ดีในสถานที่ที่ได้รับความนิยมมักมีผู้คนจับจองจนเต็มอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับชมวิว พื้นที่ใกล้กับห้องน้ำหรือใกล้ลานจอดรถ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้การเลือกพื้นโล่งลมสงบหรือลานดินก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ควรระวังรากไม้และก้อนหินที่อาจเป็นอุปสรรคในการนอนได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงจุดที่เป็นแอ่งและจุดที่ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ทางเดินของสัตว์ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการตั้งใต้ต้นไม้ใหญ่เพราะอาจพบปัญหาน้ำค้างหยดหรือกิ่งไม้ ใบไม้ร่วงใส่เต๊นท์และอาจเป็นเป้าล่อสายฟ้าได้ และที่สำคัญหลีกเลี่ยงจุดที่คาดว่าจะมีสัตว์เลื้อยคลาน ไรอ่อนและแมลงมีพิษอยู่
สำหรับทำเลในขั้นต้นที่ต้องพิจารณาแล้ว ยังควรเลือกลักษณะพื้นที่โดยรวมให้เป็นพื้นที่ราบเรียบที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความลาดชันมากเกินไปเพราะไม่ใช่แค่ความรู้สึกสบายตัวขณะนอนหลับเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันอันตรายจากการที่เต๊นท์พับตัวในช่วงที่มีลมกรรโชกแรง การได้รับความชื้นจนเป็นเหตุให้ลื่นไถลหรือป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดดินสไลด์ตัวด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้าง ? สำหรับเต๊นท์ยอดฮิตหลากหลายรูปแบบที่มีทั้งลักษณะและคุณสมบัติต่าง ๆ ที่น่าสนใจให้เราได้ใช้เป็นตัวเลือก และเป็นข้อมูลเปรียบเทียบในการเลือกซื้อได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้เราสามารถนำไปปรับใช้ให้ตอบโจทย์กับการเดินทาง การเข้าแคมป์ หรือแม้แต่ทริปชาร์จพลังได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเต๊นท์ เทคนิคการกางหรือทำเลแบบใด เรื่องของความปลอดภัยย่อมต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ ดังนั้นหากเราได้เต๊นท์ที่ถูกใจแล้วก็อย่าลืมใส่ใจในความปลอดภัยและปฏิบัติความระเบียบของสถานที่นั้น ๆ ด้วย เพื่อให้การพักผ่อนหรือการเดินทางของเราได้รับประสบการณ์และมีความสุขได้อย่างเต็มที่นั่นเอง