✁☬◕ ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเจ้าหอมมะลิแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเจ้ากล้อง(กข.43)

✁☬◕  ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเจ้าหอมมะลิแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเจ้ากล้อง(กข.43)
คุณสมบัติเด่น / รายละเอียดสินค้า:
เรียน คุณลูกค้า ขออนุญาต ไม่ขายรายการสั่งสินค้าชนิดเดียวกันเกิน 6 กก. ขอร้องว่าแบ่งปันให้ลูกค้าท่านอื่นได้รับประทานข้าวราคาถูกบ้างค่ะ ร้านเราไม่ขายส่งค่ะ ทางร้านตั้งใจนำข้าวดีราคาถูกมาแบ่งปันกันค่ะ ขอความกรุณา ไม่สั่งสินค้าชนิดเดียวกันเกิน 6 กก. นะค่ะ
-ข้าวหอมมะลิแดง
-ข้าวเจ้า
-ข้าวกล้อง
-ข้าวทับทิมชุมแพ
-บาร์เลย์
-OrganicRice
-TubtimChumphaeRice
-ข้าวหอมแดง
-RedHawmRice
-ข้าวเจ้ากล้อฃกข43
-ข้าวน้ำตาลต่ำ
-ข้าวน้ำตาลน้อย
-ข้าวเจ้ากล้อง ร้านบ้านมะฮ๊อก ขอนำเสนอข้าวล๊อตใหม่แพ็คละ 1 กก. ข้าวทับทิมชุมแพ แพ็ค 1 กก. ราคา กก.ละ 60 บาท ข้าวเจ้าหอมมะลิแดง แพ็ค 1 กก. ราคา กก.ละ 75 บาท ข้าวบาร์เลย์ แพ็ค 1 กก. ราคา กก.ละ 60 บาท ข้าวเจ้า กข. 43 แพ็ค 1 กก. ราคา กก.ละ 45 บาท ข้าวทับทิมชุมแพ แพ็ค 1 กก. ละ 60 บาท มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีนอลิกสูง และฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งสูงกว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง (ปริมาณฟีโนลิก
4661.05มิลลกรัมต่อ100กรัม และปริมาณฟลาโวนอยด์
2989.21 มิลลกรัมต่อ100กรัม) โดยสารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองมีส่วนช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ป้องกันการเกิดมะเร็ง อีกทั้งข้าวทับทิมชุมแพยังมีปริมาณอมิโลสต่ำ เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อหุงสุกจะนุ่มมาก “ข้าวหอมแดง (Red Hawm Rice)” ด้วยมีที่มาจากข้าวหอมมะลิ 105 บ้างจึงเรียกข้าวชนิดนี้ว่า “ข้าวหอมมะลิแดง” ข้าวหอมมะลิแดงถือเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม เมื่อหุงสุกนุ่ม เหนียว และมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในสภาพธรรมชาติได้ดี ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้คุณภาพการขัดสีดี คุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม ต้านทานโรคและแมลง ที่สำคัญเป็นข้าวที่เหมาะสำหรับการผลิตแบบอินทรีย์ ข้าวกล้องหอมมะลิแดง มีคุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการ โดยจะมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ช่วยในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานได้ดี และจากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในช่วงเวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ
10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง
8.59 กรัมต่อ 100 กรัม แสดงให้เห็นว่า ข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป ที่สำคัญในข้าวกล้องทุกชนิดจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ลูทีน สูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ในข้าวกล้องหอมมะลิแดง มีสารทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินอี และลูทีนสูง ซึ่งการบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว มีสารอาหารจำพวกแป้ง ไขมันไม่อิ่มตัว ไม่มีคลอเรสเตอรอล โปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน แคลเซียมช่วยลดอาการเป็นตะคริว วิตามินบี1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก ทองแดงช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ใยอาหารป้องกันอาหารท้องผูก ที่มาของข้อมูล กรมการข้าว เข้าถึง ณ วันที่ 30 มิย. 62 ข้าวบาร์เลย์ แพ็ค 1 กก. ละ 60 บาท มีลักษณะคล้ายๆลูกเดือยแต่ขนาดเล็กและเรียวกว่า เป็นธัญพืชที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับข้าวโพด และข้าวสาลี มีรสชาติและกลิ่นที่โดดเด่น หาซื้อได้ง่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องดื่ม และขนมต่างๆ มากมาย เช่น นำมาใส่ในน้ำเต้าหู้ ใช้หุงแทนข้าวสวย หรือนำมาต้มเป็นน้ำข้าวบาร์เลย์ก็ได้ ในข้าวบาร์เลย์ประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่น แมงกานีส ซีลีเนียม เส้นใย ทองแดง วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินบี6 วิตามินบี12 วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็ก เป็นต้น ข้าวบาร์เลย์มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านสุขภาพมากมาย ข้าวพันธุ์กข 43 เป็นข้าวที่ถูกคัดเลือกจากการผสมข้ามพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี(พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 คัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR99007
-22
-1
-2
-2
-1 ปลูกทดสอบผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและในนาเกษตรกรตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2551 มีการรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว พิจารณารับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ใช้ชื่อว่า ข้าวเจ้า กข
-43 จากการศึกษาวิจัยของกองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาและใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวในเชิงสุขภาพ โดยคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ พบว่า ข้าวเจ้าพันธุ์ กข43ให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าข้าวอมิโลสต่ำชนิดอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในมนุษย์จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่พบว่าข้าวพันธุ์ กข43 มีค่าดัชนีน้ำตาลในข้าวขาวน้อยกว่าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และมีค่าใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์หอมกระดังงา ซึ่งเป็นข้าวอมิโลสสูงและร่วนแข็ง ที่มาของข้อมูล กรมการข้าว เข้าถึง 17 สค. 62
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ ✁☬◕  ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเจ้าหอมมะลิแดง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเจ้ากล้อง(กข.43)
หากรายละเอียดยังไม่เพียงพอ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ร้านด้านล่าง....
Sczd-TH